“Re-Skin Derma Stamp” อ้างรักษาสิว หลุม ฝ้า เตือนอย่าซื้อเสี่ยงติดเชื้อ หน้าพัง
อย. เตือนอย่าหลงเชื่อโฆษณา “อุปกรณ์รักษาสิวด้วยตนเอง” อ้างรักษาสิว หลุมสิว ฝ้า ชี้ ไม่เคยอนุญาตผลิต นำเข้า จำหน่าย เหตุไม่มีผลวิจัยรองรับ เสี่ยงติดเชื้อ ทำหน้าเสียโฉม
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย. กล่าวว่า ขณะนี้มีการโฆษณาอุปกรณ์รักษาสิวด้วยตนเอง (Re-Skin Derma Stamp) บนโลกออนไลน์ โดยอวดอ้างว่าสามารถรักษาหลุมสิว รอยแผลเป็น และรักษาฝ้าได้ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเข็มเล็ก ๆ เรียงกันคล้าย ๆ กับใบมีดโกนหนวด เมื่อนำไปใช้จะสามารถทำลายพังผืดตามหลุมสิว ทำให้เกิดเนื้อเยื่อใหม่ ช่วยรักษาหลุมสิวและสามารถทำด้วยตัวเองที่บ้านได้อีกด้วย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง ซึ่ง อย. ไม่เคยอนุญาตให้นำเข้า ผลิต และ ขาย อุปกรณ์รักษาสิวด้วยตนเองดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศไทยแต่อย่างใด เนื่องจากไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับงานวิจัยรองรับที่จะสนับสนุนว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพียงพอ
“ขอย้ำเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อคำโฆษณาชักชวนให้ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้ เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวหากไม่สะอาด อาจติดเชื้อ เป็นอันตรายต่อผิวหนัง และบริเวณที่นำไปใช้โดยเฉพาะหากนำไปใช้บริเวณใกล้ดวงตา อาจเกิดอันตรายต่อดวงตา เปลือกตา เกิดการติดเชื้อ ผื่นคันแดง แสบคันตา และที่สำคัญคือ อันตรายที่ถึงขั้นทำให้เสียโฉมได้” รองเลขาธิการ อย. กล่าวและว่า หากผู้บริโภคพบเห็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ขาย ผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย หรือหากได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถาม หรือร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ Email:1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะได้ดำเนินการปราบปรามดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย. กล่าวว่า ขณะนี้มีการโฆษณาอุปกรณ์รักษาสิวด้วยตนเอง (Re-Skin Derma Stamp) บนโลกออนไลน์ โดยอวดอ้างว่าสามารถรักษาหลุมสิว รอยแผลเป็น และรักษาฝ้าได้ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเข็มเล็ก ๆ เรียงกันคล้าย ๆ กับใบมีดโกนหนวด เมื่อนำไปใช้จะสามารถทำลายพังผืดตามหลุมสิว ทำให้เกิดเนื้อเยื่อใหม่ ช่วยรักษาหลุมสิวและสามารถทำด้วยตัวเองที่บ้านได้อีกด้วย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง ซึ่ง อย. ไม่เคยอนุญาตให้นำเข้า ผลิต และ ขาย อุปกรณ์รักษาสิวด้วยตนเองดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศไทยแต่อย่างใด เนื่องจากไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับงานวิจัยรองรับที่จะสนับสนุนว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพียงพอ
“ขอย้ำเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อคำโฆษณาชักชวนให้ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้ เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวหากไม่สะอาด อาจติดเชื้อ เป็นอันตรายต่อผิวหนัง และบริเวณที่นำไปใช้โดยเฉพาะหากนำไปใช้บริเวณใกล้ดวงตา อาจเกิดอันตรายต่อดวงตา เปลือกตา เกิดการติดเชื้อ ผื่นคันแดง แสบคันตา และที่สำคัญคือ อันตรายที่ถึงขั้นทำให้เสียโฉมได้” รองเลขาธิการ อย. กล่าวและว่า หากผู้บริโภคพบเห็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ขาย ผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย หรือหากได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถาม หรือร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ Email:1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะได้ดำเนินการปราบปรามดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป
ขอบคุณข้อมูล MGR Online
เเละ กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ